สำหรับโรงพยาบาล
Dietz NCDs Telemedicine ช่วยสถานพยาบาลดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ดีขึ้น
ดูแลคนไข้ได้ดีขึ้น ลดภาระงานบุคลากร
ช่วยสถานพยาบาลดูแลคนไข้ได้ดีขึ้นเพราะสามารถติดตามอาการคนไข้ได้ที่บ้าน นวัตกรรมบริการดูแลคนไข้ที่บ้านช่วยเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ๆให้สถานพยาบาล ลดภาระงานบุคลากรด้วยการเชื่อมต่อกับระบบ Hospital Information System ไม่ต้องบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน รองรับ Business Model ทั้ง B2C และ B2B สำหรับสถานพยาบาลของรัฐช่วยลดต้นทุนในการจัดการ
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำเป็นต้องควบคุมภาวะสุขภาพ เช่น ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนัก ให้อยู่ในภาวะปกติ ควบคุมการรับประทานอาหารให้มีโภชนาการที่เหมาะสม เช่น คาร์โบไฮเดรต โซเดียม โพแทสเซียม โปรตีน ไขมัน หรือพลังงานที่ได้รับต่อวัน ไม่มากไปหรือน้อยเกินไป เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังอันเป็นอันตรายถึงชีวิต รวมถึงเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ดี เนื่องจากขาดการติดตามสุขภาพและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องหลังจากผู้ป่วยกลับจากโรงพยาบาลแล้ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีความวิตกกังวล
มีปัญหาข้อสงสัยในการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ที่บ้าน การรับประทานอาหารและยา หรือ การออกกำลังกาย
ทีมสุขภาพของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยใช้ช่องทางส่วนตัว เช่น Line หรือ Line กลุ่ม โดยให้ผู้ป่วยจัดส่งผลการตรวจสุขภาพด้วยตนเองมายังพยาบาลที่ดูแล และส่งข้อมูลต่อให้แพทย์อีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการที่กระทบช่องทางการติดต่อสื่อสารส่วนบุคคล เสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล ข้อมูลไม่ถูกจัดเก็บเป็นระบบ ไม่สามารถนำมาประมวลผลได้โดยง่าย ไม่มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว รวมถึงอาจมีความผิดพลาดในการ
Dietz NCDs Telemedicine เป็นแพลทฟอร์มการแพทย์ทางไกลสำหรับสถานพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ดีขึ้นได้ โดยช่วยให้ทีมสุขภาพสื่อสารกับผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องผ่านไดเอทซ์แชทหรือวีดีโอคอล ผู้ป่วยสามารถส่งผลการตรวจสุขภาพด้วยตนเองที่บ้านเข้าระบบ มีการเก็บข้อมูลทั้งผลการตรวจสุขภาพ อาการ อาหารที่รับประทานอย่างเป็นระบบ สามารถทำกราฟแนวโน้มสุขภาพ เชื่อมโยงข้อมูลกับโรงพยาบาลได้อย่างอัตโนมัติ มีความปลอดภัย เป็นส่วนตัว และไม่เพิ่มภาระงานบุคลากร
ทีมสุขภาพ หรือ ทีมสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด สามารถติดตามอาการและผลตรวจสุขภาพของผู้ป่วยได้ที่บ้าน โดยผู้ป่วยสามารถตรวจวัดน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเอง (Self-monitoring of blood glucose, SMBG) ตรวจวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Home Blood Pressure Monitoring; HBPM) แล้วสามารถบันทึกลงในระบบไดเอทซ์ และส่งข้อมูลให้ทีมสุขภาพเห็นเพื่อให้คำปรึกษาได้ ซึ่งครอบคลุมถึงการบันทึกอาการ การรับประทานอาหาร การฉีดยาอินซูลิน และผลการตรวจสุขภาพอื่นๆ
เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาข้อสงสัยสามารถส่งข้อสงสัยให้ทีมสุขภาพผ่านระบบแชทได้ตลอดเวลา โดยทีมสุขภาพสามารถให้คำแนะนำผู้ป่วยในการดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องผ่านระบบแชทและวีดีโอคอลตามเวลาที่กำหนดไว้โดยไม่เพิ่มภาระงาน และระบบจะแจ้งเตือนผู้ป่วยไปทาง SMS ได้ทันทีแม้ผู้ป่วยไม่ได้ออนไลน์
ทีมสุขภาพสามารถเห็นข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยที่เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล (Hospital Information System เช่น HosXP / SSB / HomC / Centrix / Abstract เป็นต้น) สามารถเห็นกราฟผลการตรวจสุขภาพจากสถานพยาบาล เช่น ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1C / ระดับไขมันในเลือด Lipid Profile / การทำงานของตับ Liver function / การทำงานของไต เป็นต้น โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลข้ามสถานพยาบาลได้ เช่น ระหว่างโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลเดียวกัน หรือ ระหว่างโรงพยาบาลศูนย์ ไปยังโรงพยาบาลชุมชน หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่
ไดเอทซ์ออกแบบโดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศ มีการเข้ารหัสข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล การรักษาความปลอดภัยใน Protocol SSL ระบบคลาวด์ Amazon Web Service (AWS) มีการรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผู้ป่วยต้องยอมรับเงื่อนไขการใช้งานก่อนการรับบริการ
นอกจากนี้ ระบบยังรองรับการเบิกจ่ายประกันสุขภาพเอกชน การชำระเงินเอง หรือ สิทธิสวัสดิการของรัฐอื่นๆ เช่น สิทธิ์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ประเทศไทย) และสิทธิ์ข้าราชการ (ประเทศไทย)
Pranagklo Public Hospital
- Over 16,000 usages in 2022
- Lower costs and congestion for hospitals
- More accessible for patients
Outpatient (OPD) services:
Telemedicine for remote areas
Budhasothirn Public Hospital
- Model community for diabetes care
- Synchronize data among doctors, nutritionists, nurses and patients
- Patients effectively control blood sugar up to 80%, reducing medication and care costs
NCDs services:
Telemedicine for chronic care
Featured function
ทีมสุขภาพสื่อสารกับผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องผ่านไดเอทซ์แชทหรือวีดีโอคอล
กราฟผลการตรวจสุขภาพจากที่บ้านและสถานพยาบาล
ทีมสุขภาพสามารถเห็นข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยที่ตรวจวัดเองที่บ้าน เช่น ความดันโลหิต น้ำหนัก รอบเอว หรือ ระดับน้ำตาลในเลือด และยังเห็นข้อมูลผลการตรวจสุขภาพที่เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล เช่น ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1C / ระดับไขมันในเลือด Lipid Profile / การทำงานของตับ Liver function / การทำงานของไต เป็นต้น สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข้ามสถานพยาบาลได้ เช่น ระหว่างโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลเดียวกัน หรือ ระหว่างโรงพยาบาลศูนย์ ไปยังโรงพยาบาลชุมชน หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่
ดูแลด้วยทีมสุขภาพ หรือ แคมเปญเฉพาะโรค ทีมสุขภาพสามารถเห็นข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยร่วมกัน
สรุปผลการดูแลผู้ป่วย รายคนหรือรายกลุ่ม
ผู้ป่วยบันทึกข้อมูลด้วยตนเองได้ง่าย แม้เป็นผู้สูงอายุ
Case study
ดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยทีมสหวิชาชีพ
โรงพยาบาลเทพธารินทร์ (กรุงเทพ, ประเทศไทย) เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่จัดตั้งศูนย์เบาหวานและไทรอยด์แห่งแรกในประเทศไทย เป็นผู้นำการดูแลรักษาและป้องกันโรคเบาหวาน มีประสบการณ์กว่า 30 ปี ได้รับการยอมรับในมาตรฐานการรักษาและวิชาการในระดับ ประเทศและนานาชาติ ทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลเทพธารินทร์โดยเฉพาะนักกำหนดอาหาร ผู้ให้ความรู้ด้านเบาหวาน ทำงานร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้งานไดเอทซ์ในแคมเปญในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในรูปแบบต่างๆ
ดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์
โรงพยาบาลพุทธโสธร (ฉะเชิงเทรา, ประเทศไทย) เป็นโรงพยาบาลของรัฐบาล ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ปัจจุบันมีขนาด 585 เตียง IDF สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติประมาณว่า มีจำนวนถึง 20.9 ล้านคน หรือ 16.2% ของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะน้ำตาลสูงในเลือด (ค.ศ. 2015) โดย 85.1% วินิจฉัยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes) , 7.4% เป็นเบาหวานชนิดอื่นที่ตรวจพบตอนตั้งครรภ์
ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต้องเดินทางมาพบแพทย์เพื่อติดตามภาวะน้ำตาลในเลือดเป็นประจำเกือบทุกสัปดาห์ รวมถึงต้องได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง การควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ให้สอดคล้องกับระดับน้ำตาลในเลือดและยาฉีดอินซูลินที่ได้รับ การเดินทางมาโรงพยาบาลทำให้ประสบปัญหาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดและเชื้อโรคในโรงพยาบาล เกิดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาที่เพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลพุทธโสธรจึงได้นำเอาไดเอทซ์เทเลเมดิซีนมาใช้ในการดูแลคนไข้เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (และเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ ชนิดที่ 2 ที่ต้องฉีดอินซูลิน) โดยให้ผู้ป่วยที่ประเมินแล้วว่าสามารถใช้การติดตามผ่านระบบไดเอทซ์เทเลเมดิซีนได้ ส่งข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด ปริมาณยาที่ฉีด อาหารที่รับประทาน ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทาน ผ่านทางระบบไดเอทซ์ ก่อนถึงกำหนดที่นัดหมายในแต่ละสัปดาห์ (ในกรณีนี้เป็นวันจันทร์) เมื่อถึงกำหนดแพทย์จะดูข้อมูลที่ส่งมาและวิเคราะห์ ประเมินการรักษา และให้คำแนะนำผ่านระบบแชทได้อย่างสะดวก โดยผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล รวมถึงพยาบาลสามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคนไข้ นักกำหนดอาหารสามารถให้คำแนะนำด้านการรับประทานอาหารและโภชนาการ เภสัชกรสามารถให้คำแนะนำด้านการใช้ยากับผู้ป่วยได้
ดูแลเบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ห่างไกล
โรงพยาบาลบางระกำ (พิษณุโลก, ประเทศไทย) เป็นโรงพยาบาลของรัฐบาล ขนาด 30 เตียง ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โรงพยาบาลบางระกำเป็นต้นแบบหนึ่งในโรงพยาบาลชุมชนในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ได้นำไดเอทซ์เทเลเมดิซีนไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุ ใช้ในการดูแลผู้ป่วยดำเนินการร่วมกับเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ สามารถส่งข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือดเข้าระบบ และสามารถแชท หรือวีดีโอคอลกับทีมสุขภาพของโรงพยาบาลในการติดตามอาการได้โดยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีถึง 80% ช่วยโรงพยาบาลลดต้นทุนในด้านการใช้ยาและการดูแลคนไข้
ตัวอย่างสถานพยาบาลที่ใช้งาน
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
โรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายสองส่วน คือ ค่าติดตั้ง และ ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยต่อคนต่อเดือน โดยค่าติดตั้งและการฝึกอบรมใช้งานขึ้นกับความซับซ้อนในการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลกับทางไดเอทซ์ เริ่มต้น $10,000 และมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยต่อคนต่อเดือนเริ่มต้น $6
โรงพยาบาลของรัฐ สามารถขอรับการสนับสนุนค่าติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานระบบได้ โดยการทำ MOU ระหว่างสถานพยาบาลกับไดเอทซ์ และได้รับส่วนลดพิเศษสำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยต่อคนต่อเดือน
ทดลองใช้งานได้ฟรี ติดต่อ sale@dietz.asia