TELEMEDICINE หรือ การแพทย์ทางไกล กับการประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาล
TELEMEDICINE หรือ บริการการแพทย์ทางไกล ตามนิยามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลโดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล พ.ศ. 2564 (ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2564) “การบริการการแพทย์ทางไกล” หมายความว่า การให้บริการการแพทย์และสาธารณสุขของสถานพยาบาลแก่ผู้ขอรับบริการโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้วยระบบบริการการแพทย์ทางไกลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรึกษา การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา การพยาบาลการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพร่างกาย และเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข “ระบบบริการการแพทย์ทางไกล” หมายความว่า ระบบงานที่มีการนำดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่อยู่ต่างสถานที่ด้วยวิธีการส่งสัญญาณข้อมูลภาพ และเสียง หรือวิธีการอื่นใด
TELEMEDICINE หรือ บริการการแพทย์ทางไกล ตามนิยามประกาศแพทยสภา ที่ 54/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (TELEMEDICINE) และคลินิกออนไลน์ (ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2563) “โทรเวช” หรือ “การแพทย์ทางไกล” (TELEMEDICINE) หมายความว่า เป็นการส่งผ่านหรือการสื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์แผนปัจจุบันโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งจากสถานพยาบาลภาครัฐและ/หรือเอกชนจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งโดยอาศัยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้การปรึกษา คำแนะนำ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือบุคคลอื่นใด เพื่อการดำเนินการทางการแพทย์ในกรอบแห่งความรู้ทางวิชาชีพเวชกรรม ตามภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ โดยความรับผิดชอบของผู้ส่งผ่านหรือการสื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์นั้น ๆ
TELEMEDICINE กับการดูแลผู้ป่วย
TELEMEDICINE ถูกนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ในประเทศไทยมีการนำระบบ TELEMEDICINE มาใช้อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น
TELEMEDICINE ของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการการแพทย์ทางไกล (Telehealth Center) ขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยจัดตั้งห้องการแพทย์ทางไกลแห่งแรกของโรงพยาบาลรัฐ เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา โดยจัดทำระบบการแพทย์ทางไกล เพื่อให้บริการผู้ป่วยหลายกลุ่มโรค เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การดูแลด้านจิตเวช รวมถึงในช่วงที่ผ่านมาได้ดูแลผู้ป่วยโควิดด้วยการแพทย์ทางไกล (Home Isolation) มากกว่า 16,000 คน ผลการดูแลรักษาพบว่าสามารถติดตามอาการคนไข้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีการรองรับระบบแชทและวีดีโอคอล คนไข้พึงพอใจเพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดเวลารอคอย โรงพยาบาลและบุคลากรลดความแออัดในโรงพยาบาล ศูนย์บริการการแพทย์ทางไกล (Telehealth Center) ของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา พัฒนาโดย www.dietz.asia รองรับการเบิกจ่ายสิทธิการรักษาจากสปสช.
นอกจากนี้ TELEMEDICINE ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ยังดำเนินการกับผู้ต้องขังในเรือนจำ เพื่อช่วยติดตามให้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเรือนจำผ่านระบบ TELEMEDICINE ได้ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
“ภาพระบบ TELEMEDICINE โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา”
ศูนย์บริการการแพทย์ทางไกล
“ภาพระบบ TELEMEDICINE โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา”
พญ.เสาวลักษณ์ ชาวโพนทอง อายุรแพทย์โรคไต ให้การดูแลผู้ป่วยช่วงโควิด 19 ด้วยระบบ TELEMEDICINE
“ภาพระบบ TELEMEDICINE โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา”
นายแพทย์ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ให้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเรือนจำ ด้วยระบบ TELEMEDICINE
“ภาพระบบ TELEMEDICINE โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา”
การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเรือนจำ ด้วยระบบ TELEMEDICINE
ดูแลผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วย TELEMEDICINE
ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต้องเดินทางมาพบแพทย์เพื่อติดตามภาวะน้ำตาลในเลือดเป็นประจำเกือบทุกสัปดาห์ รวมถึงต้องได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง การควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ให้สอดคล้องกับระดับน้ำตาลในเลือดและยาฉีดอินซูลินที่ได้รับ การเดินทางมาโรงพยาบาลทำให้ประสบปัญหาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดและเชื้อโรคในโรงพยาบาล เกิดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาที่เพิ่มมากขึ้น
โรงพยาบาลพุทธโสธร เป็นโรงพยาบาลของรัฐบาล ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ปัจจุบันมีขนาด 585 เตียง โรงพยาบาลพุทธโสธรจึงได้นำเอาการแพทย์ทางไกล หรือ TELEMEDICINE ของไดเอทซ์ใช้ในการดูแลคนไข้เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (และเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ ชนิดที่ 2 ที่ต้องฉีดอินซูลิน) โดยให้ผู้ป่วยที่ประเมินแล้วว่าสามารถใช้การติดตามผ่านระบบไดเอทซ์เทเลเมดิซีนได้ ส่งข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด ปริมาณยาที่ฉีด อาหารที่รับประทาน ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทาน ผ่านทางระบบไดเอทซ์ ก่อนถึงกำหนดที่นัดหมายในแต่ละสัปดาห์ (ในกรณีนี้เป็นวันจันทร์) เมื่อถึงกำหนดแพทย์จะดูข้อมูลที่ส่งมาและวิเคราะห์ ประเมินการรักษา และให้คำแนะนำผ่านระบบแชทได้อย่างสะดวก โดยผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล รวมถึงพยาบาลสามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคนไข้ นักกำหนดอาหารสามารถให้คำแนะนำด้านการรับประทานอาหารและโภชนาการ เภสัชกรสามารถให้คำแนะนำด้านการใช้ยากับผู้ป่วยได้
พญ.อรณิชา อมรอริยะกูล อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิซึม โรงพยาบาลพุทธโสธร
ให้บริการ TELEMEDICINE กับผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การแพทย์ทางไกล เชื่อมโยงหน่วยบริการปฐมภูมิกับตติยภูมิ
โรงพยาบาลร้อยเอ็ดร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด เช่น โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ โรงพยาบาลโพนทอง โรงพยาบาลเสลภูมิ เป็นต้น นำระบบ TELEMEDICINE ดูแลผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้ป่วยสมองและระบบประสาท รวมถึงโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดในอำเภอเมือง แต่สามารถติดตามอาการที่โรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ภาพการทดลองระบบการแพทย์ทางไกล”
ระหว่างโรงพยาบาลร้อยเอ็ด และ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ ที่มีระยะทางห่างกันมากกว่า 54 กิโลเมตร จากเดิมคนไข้ต้องเดินทางมาติดตามอาการที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด แต่เมื่อปรับมาใช้บริการการแพทย์ทางไกล คนไข้สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ เพื่อเข้าพบแพทย์เฉพาะทางที่นัดหมายไว้ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ดได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ TELEMEDICINE
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ TELEMEDICINE ประกอบด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุขและสภาวิชาชีพ
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลโดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล พ.ศ. 2564 (ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2564)
ประกาศฉบับนี้กำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลภาคเอกชนที่จะให้การบริการ โดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้รับบริการในสถานพยาบาล ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ต้องยื่นแบบคำขอบริการเพิ่มเติมบริการการแพทย์ทางไกลของการให้บริการที่พัฒนาขึ้นในสถานพยาบาลต่อผู้อนุญาต ตามแบบคำขอเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามแบบ ส.พ. 16
- ประกาศแพทยสภา ที่ 54/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (TELEMEDICINE) และคลินิกออนไลน์ (ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2563)
ประกาศฉบับนี้กำหนดเนื้อหาสำคัญคือ คลินิกออนไลน์ และการให้บริบาลผ่านระบบบริบาลโทรเวช หรือบริบาลการแพทย์ ทางไกล (TELEMEDICINE) จำเป็นต้องดำเนินการผ่านสถานพยาบาลเท่านั้น การให้บริบาลผ่านระบบบริบาลโทรเวช หรือบริบาลการแพทย์ทางไกล จะต้อง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555 เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2563 เกณฑ์หรือแนวทางที่แพทยสภากำหนดขึ้นตามกรอบแห่งกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม การปรึกษาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือบุคลากรสาธารณสุขอื่นที่มี กฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ไม่ถือว่าเป็นการให้บริบาลโทรเวชหรือการแพทย์ทางไกล ผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาลพึงตระหนักรู้ และต้องรับทราบถึงข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี และอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาล ต้องทราบว่ากิจกรรมที่ดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศ มีความเสี่ยงจาก ระบบสารสนเทศด้วย จึงต้องทำภายใต้ระบบสารสนเทศที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยด้านสารเทศ ที่เป็นสากล และได้รับการดูแลให้พร้อมใช้งาน และพร้อมรับการตรวจสอบ ระบบสารสนเทศที่ใช้ดำเนินการโทรเวช ต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 56/2563 เรื่อง การกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2563
กำหนดนิยามการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) คือ การบริการทางเภสัชกรรม (Pharmaceuticalcare) และ การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องแก่ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร (Telecommunication) รวมทั้งการส่งมอบยา โดยมีรายละเอียดตามประกาศ เช่น มาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเภสัชกรรมทางไกลของเภสัชกร กรณีเป็นสถานพยาบาล กรณีร้านยาที่ได้รับใบสั่งยา และกรณีร้านยาที่ให้บริการ โดยไม่ได้รับใบสั่งยา
- ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง แนวทางการพยาบาลทางไกล (Tele-nursing) ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563
อ้างอิง https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_0049.PDF
กำหนดนิยามการพยาบาลทางไกล (Tele-nursing)” หมายความว่า การพยาบาลและการผดุงครรภ์เพื่อให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขอนามัยภายใต้กรอบความรู้แห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการ ทั้งนี้ โดยความรับผิดชอบของผู้ให้การพยาบาลทางไกล
องค์ประกอบในการให้การพยาบาลทางไกล ประกอบด้วยการดำเนินการของ สถานพยาบาลที่ให้การพยาบาลทางไกล ผู้ให้การพยาบาลทางไกล ผู้รับการพยาบาลทางไกล และมีแนวทางปฏิบัติการให้การพยาบาลทางไกล เช่น ต้องมีการยืนยันตัวตนของผู้ให้การพยาบาลทางไกล และผู้รับการพยาบาลทางไกลภายใต้มาตรฐานสารสนเทศของสถานพยาบาลนั้น ประเมินผู้รับการพยาบาลทางไกลโดยการทบทวนจากประวัติสุขภาพเดิม และประเมินภาวะสุขภาพเพิ่มเติมวิเคราะห์ข้อมูลและวินิจฉัยการพยาบาล โดยประเมินอาการและความรุนแรง ความเสี่ยงข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ และเกณฑ์ที่สภาการพยาบาลประกาศ วางแผนการพยาบาลและให้การพยาบาล จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล บันทึกการพยาบาลทางไกลที่ให้แก่ผู้รับการพยาบาลทางไกล ประเมินผลการให้การพยาบาลทางไกล ประสานการส่งต่อเมื่อประเมินแล้วพบว่าผู้รับการพยาบาลทางไกลควรไปรับบริการในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพที่เหมาะสมกับอาการหรือปัญหาสุขภาพของผู้รับการพยาบาลทางไกล
การปรึกษาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับบุคลากรสาธารณสุขอื่น ที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ไม่ถือว่าเป็นการพยาบาลทางไกลตามประกาศนี้
- ประกาศสภาเทคนิคการแพทย์เรื่องมาตรฐานการให้บริการงานเทคนิคการแพทย์ทางไกล (Tele-medical labs) พ.ศ.2563 ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2563
“การให้บริการงานเทคนิคการแพทย์ทางไกล”(Tele-Medical Labs) หมายความว่าการให้บริการด้านเทคนิคการแพทย์รูปแบบหนึ่งแก่ผู้รับบริการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในสถานพยาบาล ด้วยระบบเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกล (Telecommunication) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารกับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการในการรายงานผล การแปลผลการทดสอบ และการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจ เพื่อการวินิจฉัย การติดตามการรักษาหรือเพื่อการประเมินภาวะสุขภาพ รวมถึงการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ ให้คำแนะนำกับผู้ให้บริการอื่นในเรื่องการตรวจวิเคราะห์ และให้หมายความรวมถึงการให้คำแนะนำการตรวจด้วยตนเอง (Self-test) ในรายการตรวจที่ชุดตรวจได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้ตามกฎหมายแล้ว เช่น การใช้เครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การตรวจภาวะตั้งครรภ์ ทั้งนี้ การให้บริการดังกล่าวไม่รวมถึงการให้บริการกรณีผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน
มาตรฐานการให้บริการงานเทคนิคการแพทย์ทางไกล (Tele- Medical labs) การให้บริการต้องดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ผู้รับบริการต้องให้ความยินยอม ในการรับบริการงานเทคนิคการแพทย์ทางไกลโดยการบันทึกเสียงหรือวิธีอื่น จัดให้มีระบบการขึ้นทะเบียนผู้ป่วย และบันทึกประวัติผู้ป่วยและการให้บริการ จัดให้มีอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีที่สามารถสื่อสาร ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ จัดให้มีระบบการบันทึกข้อมูลเสียงหรือวิดีโอในขณะให้บริการที่สามารถรักษาความลับข้อมูลของผู้รับบริการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ซึ่งได้รับความยินยอมจากผู้รับบริการในการเข้าถึงข้อมูลของผู้รับบริการได้ การให้บริการด้านการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ สามารถรายงานผ่านระบบการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีการรายงานผลด้วยวาจาทางโทรศัพท์ (verbal) ต้องมีอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ ประกอบด้วย เพื่อป้องกันการผิดพลาดจากการสื่อสาร การให้คำแนะนำการตรวจด้วยตนเอง (Self-test) ประกอบด้วย ขั้นตอนการใช้งานชุดตรวจด้วยตนเอง ข้อควรระวัง การอ่านผล การแปลผล การควบคุมคุณภาพผลการตรวจวิเคราะห์และบันทึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
- ประกาศสภากายภาพบำบัด เรื่อง มาตรฐานการให้บริการกายภาพบำบัดทางไกลของสถานพยาบาล พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2564
“ระบบบริการกายภาพบำบัดทางไกล” หมายความว่า ระบบงานที่มีการนำดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการด้านกายภาพบำบัดที่อยู่ต่างสถานที่ด้วยวิธีการส่งสัญญาณข้อมูลภาพและเสียง หรือวิธีการอื่นใด
“บริการกายภาพบำบัดทางไกล” หมายความว่า การให้บริการกายภาพบำบัดของสถานพยาบาลแก่ผู้ขอรับบริการโดยผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดด้วยระบบบริการกายภาพบำบัดทางไกล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรึกษา การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพร่างกาย และเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาต่อเนื่องของบุคลากรทางกายภาพบำบัด
สาระสำคัญสรุปดังนี้ การบริการกายภาพบำบัดทางไกล ต้องดำเนินการผ่านสถานพยาบาลในเวลาทำการที่ได้รับอนุญาต และผู้รับบริบาลได้รับบริการกายภาพบำบัดแบบต่อหน้าจากผู้ให้บริบาลมาในครั้งแรก
การบริการกายภาพบำบัดทางไกล จะต้องเป็นไปตาม (1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลโดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล พ.ศ. 2564 (2) ข้อบังคับสภากายภาพบำบัด ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดพ.ศ. 2551
(3) ข้อบังคับสภากายภาพบำบัด ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2560 (4) ประกาศสภากายภาพบำบัด เรื่อง มาตรฐานบริการกายภาพบำบัด พ.ศ. 2553
ผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาลพึงตระหนักรู้ และต้องรับทราบถึงข้อจำกัด ระบบบริการกายภาพบำบัดทางไกลการบริการกายภาพบำบัดทางไกล จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไข
(1) ผู้ให้บริบาลต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด
(2) มีระบบการขึ้นทะเบียน การบันทึกประวัติผู้รับบริบาล และการให้บริการกายภาพบำบัดทางไกล
(3) มีระบบการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาลว่ามีชื่อตรงกับการขึ้นทะเบียนไว้ ภายใต้มาตรฐานด้านการบริการสารสนเทศที่หน่วยงานรับผิดชอบของรัฐเป็นผู้กำหนด
(4) มีระบบการบันทึกข้อมูลเสียง หรือภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวในขณะที่ให้บริการกายภาพบำบัดทางไกลและติดตามผลการรักษา ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับบริบาลทุกครั้ง
แนวทางปฏิบัติการให้บริการกายภาพบำบัดทางไกล มีดังนี้
ก. ซักประวัติผู้รับบริบาล สอบถามญาติ หรือผู้ดูแล เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการให้บริการกายภาพบำบัดทางไกล
ข. ประเมินข้อมูล และค้นหาปัญหา
ค. วางแผนและให้คำปรึกษาทางกายภาพบำบัด โดยประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ง. ส่งต่อผู้รับบริบาลไปรับการตรวจรักษาอื่น ๆ ในกรณีที่จำเป็น
ระบบบริการกายภาพบำบัดทางไกลที่ใช้ดำเนินการต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์แผนไทยทางไกล หรือโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย (Thai traditional telemedicine) และคลินิกออนไลน์ พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
“โทรเวชทางการแพทย์แผนไทย” หรือ “การแพทย์แผนไทยทางไกล”
(Thai traditional telemedicine) หมายความว่า เป็นการส่งผ่าน หรือการสื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์แผนไทย
โดยผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งจากสถานพยาบาลภาครัฐและ/หรือเอกชนจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งโดยอาศัยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การปรึกษา คำแนะนำ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อการดำเนินการทางการแพทย์แผนไทย ในกรอบแห่งความรู้ทางการแพทย์แผนไทย ตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ โดยความรับผิดชอบของผู้ส่งผ่านหรือการสื่อสารเนื้อหาทางการแพทย์นั้นๆ
“วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า เป็นวิธีการประยุกต์ใช้วิธีอิเล็กตรอนไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน หรือเป็นวิธีการข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์และให้หมายความรวมไปถึงการประยุกต์วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก คลื่นไฟฟ้าสื่อสาร เสียง ภาพหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีการต่างๆ เช่นว่านั้นด้วย
“สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลที่เป็นของภาครัฐ และ/หรือเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
“การให้บริบาลผ่านระบบบริบาลโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย หรือบริบาลการแพทย์แผนไทยทางไกล” หมายความว่า การดำเนินการโดย “โทรเวชทางการแพทย์แผนไทย” หรือ“การแพทย์แผนไทยทางไกล”
“ผู้ให้บริบาล” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ให้บริบาลโดยโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทยทางไกล (Thai traditional telemedicine) ซึ่งต้องรับผลอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นด้วย “ผู้รับบริบาล” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับ “โทรเวชทางการแพทย์แผนไทย” หรือ “การแพทย์แผนไทยทางไกล”(Thai traditional telemedicine) “คลินิกออนไลน์” หมายถึง สถานพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด “การบริบาล” หมายความว่า กระบวนการเพื่อผลแห่ง “โทรเวชทางการแพทย์แผนไทย” หรือ “การแพทย์แผนไทยทางไกล”(Thai traditional telemedicine)
ข้อ 4 การให้บริบาลผ่านระบบบริบาลโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย หรือบริบาลการแพทย์แผนไทยทางไกล จะต้องเป็นไปตาม (1) เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2560 (2) เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557 และที่แก้ไข และเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2557 และที่แก้ไข (3) เกณฑ์หรือแนวทางอื่นที่สภาการแพทย์แผนไทยก าหนดขึ้นตามกรอบแห่งกฎหมายวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และที่แก้ไข
ข้อ 5 ผู้ให้บริบาลจำเป็นต้องกระทำการ ดังนี้
(1) ต้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามข้อ 4 อย่างเคร่งครัด
(2) ควรได้เรียนรู้เทคนิคที่จำเป็น ตลอดจนข้อจำกัดของโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย
หรือการแพทย์แผนไทยทางไกล(Thai traditional telemedicine)
ข้อ 6 ผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาลพึงตระหนักรู้ และต้องรับทราบถึงข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องรับทราบถึง (1) ข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่ปรากฏตามค าประกาศสิทธิ และข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ที่ประกาศเมื่อ 12 สิงหาคม 2558 แต่
ข้อ 7 และข้อเท็จจริงทางการแพทย์อื่นที่อาจมีขึ้นในเวลาต่อมา เช่น ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย (2) เฉพาะบางโรคหรือบางภาวะเท่านั้นที่เหมาะสมในการใช้โทรเวชทางการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนไทยทางไกล(Thai traditional telemedicine)(3) สิทธิของผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาล ในการปฏิเสธการใช้โทรเวชทางการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนไทยทางไกล(Thai traditional telemedicine)(4) การใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรม หรือปัญญาประดิษฐ์(Artificial intelligence AI)ร่วมกับการใช้โทรเวชทางการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทยทางไกล(Thai traditional telemedicine) จำเป็นต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
กฎหมายที่เกี่ยวกับยา เป็นต้น
ข้อ 7 นอกจากข้อจำกัดตามข้อ 6 แล้วโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทยทางไกล (Thai traditional telemedicine) ผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาล ต้องทราบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศมีความเสี่ยงจากระบบสารสนเทศด้วย จึงต้องทำภายใต้ระบบสารสนเทศที่มีมาตรฐาน และความปลอดภัยด้านสารเทศที่เป็นสากล และได้รับการดูแลให้พร้อมใช้งานและพร้อมรับการตรวจสอบ อันประกอบด้วยสาระสำคัญคือ (1) การยืนยันตัวตนของผู้ให้บริบาลว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์จริง และได้ดำเนินการภายใต้มาตรฐานด้านสารสนเทศของสถานพยาบาล
หรือสถานบริบาลภายใต้มาตรฐานที่กฎหมายเฉพาะเรื่องกำหนดไว้ (2) การยืนยันตัวตนของผู้รับบริบาล จากระบบการให้บริบาลผ่านระบบบริบาลโทรเวชทางการแพทย์แผนไทยหรือบริบาลการแพทย์แผนไทยทางไกล (Thai traditional telemedicine)
ควรดำเนินการภายใต้มาตรฐานด้านสารสนเทศ ที่หน่วยงานรับผิดชอบที่กำกับดูแลเรื่องการยืนยันตัวบุคคลของรัฐเป็นผู้กำหนด (3) ระบบสารสนเทศที่ใช้ดำเนินการโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย ต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 8 คลินิกออนไลน์ และการให้บริบาลผ่านระบบบริบาลโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย หรือบริบาลการแพทย์แผนไทยทางไกล(Thai traditional telemedicine) จำเป็นต้องดำเนินการผ่านสถานพยาบาลเท่านั้น
ข้อ 9 การปรึกษาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์
แผนไทยประยุกต์กับบุคลากรสาธารณสุขอื่นที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ไม่ถือว่าเป็นการให้ บริบาลโทรเวชทางการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทยทางไกล ตามประกาศนี้
สนใจติดต่อทดลองใช้งานไดเอทซ์เทเลเมดิซีน (DIETZ TELEMEDICINE) ที่สอดคล้องกับประกาศดังกล่าว หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ phongchai@dietz.asia หรือ sale@dietz.asia