สำหรับคลินิก
ขยายโอกาสเข้าถึงคนไข้ในพื้นที่ห่างไกล
ช่วยขยายพื้นที่บริการของคลินิกไปได้ไกลขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ เพิ่มบริการดูแลคนไข้ที่บ้าน พบแพทย์ จัดส่งยาออนไลน์ ช่วยเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ๆให้กับคลินิก
คลินิกเป็นสถานพยาบาลที่เข้าถึงผู้ป่วยในชุมชนได้มีประสิทธิภาพ เพราะมีขนาดเล็ก และตั้งกระจายในแหล่งชุมชน คลินิกให้การรักษาตั้งแต่โรคทั่วไป โรคเรื้อรัง หรือ ติดตามอาการในโรคที่ซับซ้อนโดยแพทย์เฉพาะทาง คลินิกในเมืองใหญ่มักประสบปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงจากทั้งคลินิกแห่งอื่น หรือ โรงพยาบาล ส่วนคลินิกในพื้นที่ห่างไกลมักจะมีข้อจำกัดในการให้บริการผู้ป่วยได้แค่ในพื้นที่ของตนเอง
ไดเอทซ์ช่วยคลินิกขยายบริการครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้นด้วยนวัตกรรมการแพทย์ทางไกล
ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล ไดเอทซ์ช่วยคลินิกขยายบริการทางการแพทย์ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขึ้น โดยยังคงมาตรฐานการดำเนินการด้านการแพทย์ที่ครบถ้วน ผู้ป่วยในพื้นที่อื่นๆ สามารถเข้าถึงบริการของคลินิกผ่านระบบของไดเอทซ์เทเลเมดิซีน ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ไดเอทซ์เทเลเมดิซีน ช่วยคลินิกให้สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับคลินิกแห่งอื่นในรูปแบบบริการออนไลน์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบดิจิทัลที่รองรับการแชทและวีดีโอคอล รวมถึงการออกใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ การรับชำระเงินออนไลน์ การติดตามสถานะจัดส่งยาทางไปรษณีย์หรือขนส่งด้วยพนักงานจัดส่ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้ป่วยด้วยระบบการติดตามสุขภาพแบบต่อเนื่อง
ไดเอทซ์มีระบบการช่วยติดตามข้อมูลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้านด้วยตนเอง เช่น การติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ช่วยให้ผู้ป่วยบันทึกอาการ และข้อมูลสุขภาพของตนเองได้โดยง่าย คลินิกสามารถติดตามและให้คำแนะนำแบบออนไลน์ ระบบนี้ช่วยสร้าง
เบิกจ่ายประกันสุขภาพได้
ไดเอทซ์ช่วยคลินิกประสานงานกับประกันสุขภาพและประกันภัย ให้สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ถือกรมธรรม์หรือมีความคุ้มครองได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ช่วยให้คลินิกขยายบริการไปยังกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้มากขึ้น
บริการขอรับใบอนุญาตเทเลเมดิซีน (ประเทศไทย)
ไดเอทซ์และที่ปรึกษาด้านคุณภาพสถานพยาบาล มีบริการจัดทำคำขออนุญาตเพิ่มเติมบริการเทเลเมดิซีนให้กับคลินิกในประเทศไทย ไปยังกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยระบบเทเลเมดิซีนของไดเอทซ์ ปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลโดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล พ.ศ. 2564 (ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2564) ประกาศฉบับนี้กำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลภาคเอกชนที่จะให้การบริการ โดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้รับบริการในสถานพยาบาล ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ต้องยื่นแบบคำขอบริการเพิ่มเติมบริการการแพทย์ทางไกลของการให้บริการที่พัฒนาขึ้นในสถานพยาบาลต่อผู้อนุญาต ตามแบบคำขอเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามแบบ ส.พ. 16
รองรับตามประกาศแพทยสภา (ประเทศไทย)
ไดเอทซ์เทเลเมดิซีนรองรับตามประกาศแพทยสภา ที่ 54/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์ (ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2563) ประกาศฉบับนี้กำหนดเนื้อหาสำคัญคือ คลินิกออนไลน์ และการให้บริบาลผ่านระบบบริบาลโทรเวช หรือบริบาลการแพทย์ ทางไกล (telemedicine) จำเป็นต้องดำเนินการผ่านสถานพยาบาลเท่านั้น การให้บริบาลผ่านระบบบริบาลโทรเวช หรือบริบาลการแพทย์ทางไกล จะต้อง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555 เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2563 เกณฑ์หรือแนวทางที่แพทยสภากำหนดขึ้นตามกรอบแห่งกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม การปรึกษาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือบุคลากรสาธารณสุขอื่นที่มี กฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ไม่ถือว่าเป็นการให้บริบาลโทรเวชหรือการแพทย์ทางไกล ผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาลพึงตระหนักรู้ และต้องรับทราบถึงข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี และอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริบาลและผู้รับบริบาล ต้องทราบว่ากิจกรรมที่ดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศ มีความเสี่ยงจาก ระบบสารสนเทศด้วย จึงต้องทำภายใต้ระบบสารสนเทศที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยด้านสารสนเทศ ที่เป็นสากล และได้รับการดูแลให้พร้อมใช้งาน และพร้อมรับการตรวจสอบ ระบบสารสนเทศที่ใช้ดำเนินการโทรเวช ต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ฟังก์ชั่นเด่น
แพทย์หรือพยาบาลประจำคลินิกสื่อสารกับผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องผ่านไดเอทซ์แชทหรือวีดีโอคอล
กราฟผลการตรวจสุขภาพจากที่บ้านและสถานพยาบาล
ทีมสุขภาพสามารถเห็นข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยที่ตรวจวัดเองที่บ้าน เช่น ความดันโลหิต น้ำหนัก รอบเอว หรือ ระดับน้ำตาลในเลือด และยังเห็นข้อมูลผลการตรวจสุขภาพที่เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล หรือ คลินิก เช่น ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1C / ระดับไขมันในเลือด Lipid Profile / การทำงานของตับ Liver function / การทำงานของไต เป็นต้น
ผู้ป่วยบันทึกข้อมูลด้วยตนเองได้ง่าย แม้เป็นผู้สูงอายุ
สรุปผลการดูแลผู้ป่วย รายคนหรือรายกลุ่ม
รองรับโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งโรคโควิด
กรณีศึกษา
ดูแลผู้ป่วยโควิดทั่วกรุงเทพมหานคร
คลินิกเวชกรรมบางกอกสไมค์ (กรุงเทพ, ประเทศไทย) เป็นคลินิกเอกชนที่แม้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในการแพร่ระบาดของโควิดในประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ที่เป็นเมืองหลวง มีอัตราการติดเชื้อสูงที่สุดในประเทศต่อเนื่องทุกวันหลายพันคนต่อวัน ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือ อาการไม่รุนแรง จำเป็นต้องได้รับการดูแลด้วยระบบ Home Isolation หรือ การดูแลที่บ้าน แต่จำนวนผู้ป่วยมีมาก สถานพยาบาลของรัฐจึงไม่สามารถรองรับบริการได้อย่างเพียงพอ
ไดเอทซ์เทเลเมดิซีนช่วย คลินิกเวชกรรมบางกอกสไมค์ ในการดูแลผู้ป่วยโควิดที่รักษาตัวที่บ้านด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล ประกอบด้วย ระบบเก็บข้อมูลผู้ป่วย ระบบบันทึกสุขภาพประจำวัน ระบบบันทึกข้อมูลการตรวจและการให้คำแนะนำโดยแพทย์ ระบบแชทและวีดีโอคอล รวมถึงบริการจัดอาหาร จัดส่งอุปกรณ์ และจัดส่งยาถึงบ้านผู้ป่วย โดยช่วยดูแลผู้ป่วยได้หลายร้อยคนให้ได้เข้าถึงแพทย์และการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างคลินิกใช้งาน
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
คลินิกจะมีค่าใช้จ่ายสองส่วน คือ ค่าติดตั้งต่อคลินิกเริ่มต้น $500 ต่อปี และกรณีผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยต่อคนต่อเดือนเริ่มต้น $2.5 (โดยสามารถจัดทำแพคเกจดูแลผู้ป่วยให้ผู้ป่วยชำระค่าบริการ หรือ เบิกจ่ายจากสิทธิประกันสุขภาพ) การใช้งานดังกล่าวไม่จำกัดจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่ใช้งาน
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การขอรับใบอนุญาตเทเลเมดิซีน (ประเทศไทย) เริ่มต้น $500
สนใจใช้งานติดต่อ sale@dietz.asia